การประยุกต์ใช้ IoT เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ

 

วันนี้ Easetrack จะพาทุกท่านรับรู้ถึงเรื่องของผู้สูงอายุ ปัจจุบันหลายๆ ประเทศในเอเชียต้องเผชิญกับปัญหาการเพิ่มขึ้นของ ผู้สูงอายุ อย่างที่เห็นได้เด่นชัดเลยคือประเทศญี่ปุ่น ที่มีอัตราการเกิดใหม่ของประชากรที่น้อยมาก แต่กลับมีอัตราผู้สูงอายุสูงสุดๆ และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศในอีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้า

 

ด้านประเทศไทยเราเองก็เช่นกัน การมีผู้สูงอายุในประเทศเยอะนั้นทำให้หลายๆ อุตสาหกรรมต้องปรับตัว ทั้งด้านวงการแพทย์ ด้านข้าวของเครื่องใช้ และด้านต่างๆ อีกมากมาย ที่ต้องปรับให้รองรับกับการใช้งานของผู้สูงอายุ หรือ เปิดตลาดดึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่จะกลายมาเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในอนาคต

 

ด้วยเหตุนี้ เทคโนโลยี IoT (Internet of Thing) ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในการช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับทุกการใช้ชีวิตจึงหันมาให้ความสนใจในผู้สูงอายุมากขึ้น และออกนวัตกรรมด้าน Health Tech ต่างๆ มากมายที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น ตอบโจทย์สุขภาพในระยะยาวของทุกคนอย่างแท้จริง

 

ทำไมจึงต้องมี IoT สำหรับการดูแลผู้สูงอายุ

 

การใช้เทคโนโลยี Internet of Things หรือ IoT สำหรับการดูแลผู้สูงอายุเป็นแนวทางที่มีศักยภาพที่จะเพิ่มคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยของผู้สูงอายุ ตัวอย่างของการใช้ IoT ในด้านนี้ได้แก่:

    1. ตรวจสอบสุขภาพและข้อมูลทางการแพทย์: อุปกรณ์ IoT ที่สามารถวัดค่าสุขภาพ เช่น เครื่องวัดความดันเลือด, เครื่องวัดอุณหภูมิ, หรือตรวจวัดการเคลื่อนไหว สามารถให้ข้อมูลทางการแพทย์ที่สำคัญ เพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นมิตรและมีประสิทธิภาพ
    2. ระบบตรวจสอบความปลอดภัย: ส่วนใหญ่ IoT มีความสามารถที่จะตรวจจับอุบัติเหตุหรือภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นในบ้าน ทำให้สามารถรับทราบเหตุการณ์และทำการแจ้งเตือนหรือดำเนินการตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว
    3. การติดตามตำแหน่ง: สามารถใช้ IoT เพื่อติดตามตำแหน่งของผู้สูงอายุ เพื่อความปลอดภัยและการดูแลที่เหมาะสม เช่น เมื่อมีความจำเป็นต้องรู้ว่าผู้สูงอายุอยู่ที่ไหนในกรณีฉุกเฉิน
    4. การแจ้งเตือนการทานยาและการดูแลสุขภาพ: ระบบ IoT สามารถให้การแจ้งเตือนหรือเตือนเพื่อทราบถึงการทานยา, นัดหมายทางการแพทย์, หรือกิจกรรมทางสุขภาพอื่นๆ ที่สำคัญ
    5. ความประหยัดและความสะดวกสบาย: การใช้ IoT สามารถทำให้การดูแลผู้สูงอายุเป็นไปได้โดยไม่ต้องมีการเคลื่อนย้ายที่ยุ่งยาก และลดความพยายามที่ต้องใช้ในการดูแล
    6. สร้างสภาพแวดล้อมอย่างปลอดภัย: ระบบ IoT สามารถช่วยในการควบคุมสภาพแวดล้อมในบ้าน เช่น ระบบการควบคุมอุณหภูมิ, การตรวจจับควัน, หรือการเปิด-ปิดที่เป็นอัตโนมัติ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย

การใช้ IoT สำหรับการดูแลผู้สูงอายุช่วยให้เกิดการดูแลที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ, พร้อมทั้งเพิ่มคุณภาพชีวิตของพวกเขาอย่างชีวิตอย่างเต็มที่และปลอดภัย

 

Credit: pexels
Credit: pexels

 

4 เครื่องมือ IoT ที่สามารถนำมาใช้ได้ในไทย

 

จนถึงทุกวันนี้ได้มีอุปกรณ์ IoT ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ปัญหาด้านสุขภาพมากมาย ทั้งที่คุ้นหน้าคุ้นตากันดี และที่ยังไม่ค่อยได้พบเห็นในบ้านเรา ซึ่งอุปกรณ์หลักๆ ทั้งหมดที่ช่วยให้วิถีชีวิตผู้สูงอายุสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นนั้นมียังดี

1.Home Device : เป็นอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้าน ทั้งหลอดไฟ บานประตู พัดลม กาน้ำ ทุกอย่างที่สามารถเชื่อมต่อกับ Smart Home Cloud ได้ จะสามารถรับคำสั่งจากผู้ใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนหรือเสียงพูดได้เลยทันที ลดปัญหาการเดินแล้วล้มในผู้สูงอายุไปได้มาก

2.Wearable Application : อุปกรณ์สวมใส่ที่สามารถบ่งบอกค่าสถานะของสุขภาพร่างกายได้ผ่านหน้าจอ และรายงานผลอย่างแม่นยำ เช่น สมาร์ทวอทช์

3.Mobile Application : แอปพลิเคชั่นมากมายที่ออกแบบมาเพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะ และบางตัวต้องใช้งานควบคู่กับ IoT ที่เป็นฮาร์ดแวร์ตัวอื่นๆ ร่วมด้วย

4.Third Party : เป็นแพลตฟอร์มกลางที่จะใช้ในการช่วยดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานในการเอื้ออำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุโดยตรง

Credit: Freepik
กล่าวได้ว่า IoT เป็นนวัตกรรมที่จะเข้ามาเปลี่ยนโลกของผู้สูงอายุ และจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันเราอย่างแน่นอน ดังนั้นการศึกษาและเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดรับมันตั้งแต่วันนี้ อาจทำให้ชีวิตของคุณ รวมถึงผู้สูงอายุในบ้านสะดวกสบาย และปลอดภัยขึ้นกว่าเดิม

ที่มา: bangkokbanksme

Share to everyone