หากพูดถึงความหมายของคำว่า “Warehouse” และ “Logistics” แล้ว ทั้ง 2 คำนี้ มักถูกมองว่าเป็นคำที่ถูกใช้ไปในแนวทางเดียวกัน และทำหน้าที่ควบคู่กันไปเสมอ เปรียบเสมือนเหรียญเดียวกันแต่อยู่คนละด้าน
“Warehouse” และ “Logistics” ต่างทำหน้าที่เป็น Supply Chain ในธุรกิจ ซึ่ง Warehouse จะมุ่งเน้นไปที่การจัดเก็บสินค้าภายในอาคาร ส่วน Logistics นั้น มุ่งเน้นไปที่การจัดเก็บและการส่งมอบสินค้าที่เก็บไว้ในคลังสินค้า และนี่คือเหตุผลสำคัญที่จะต้องให้ทั้ง Warehouse และ Logistics ต้องทำงานควบคู่กัน
Warehouse คืออะไร ?
คลังสินค้า (Warehouse) เป็นสถานที่ที่ใช้สำหรับเก็บรักษาสินค้าและวัตถุดิบในระหว่างขั้นตอนการจัดส่งและกระบวนการการผลิต โดยจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้านี้เพื่อใช้ในการจัดส่งหรือจัดหาของหรือวัตถุดิบในอนาคต มีหน้าที่เก็บรักษาสินค้าให้มีความปลอดภัยและสำรองไว้ในระยะเวลาที่กำหนด คลังสินค้ามักถูกจัดองค์รวมและจัดระเบียบให้เป็นระบบเพื่อให้สามารถค้นหา จัดเก็บ และจัดส่งสินค้าได้อย่างมีระบบ
นอกจากนี้คลังสินค้ายังมีบทบาทในการควบคุมสต็อกสินค้า รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องของสินค้า เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้ามีคุณภาพและครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในระบบที่ใช้จัดเก็บครั้งแรก คลังสินค้ามีบทบาทสำคัญในโลจิสติกส์และระบบโซ่อุปทานที่เป็นส่วนสำคัญในธุรกิจและการจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้า โดย Warehouse มักจะเป็นศูนย์กลางในการรับ จัดเก็บ และกระจายสินค้า ซึ่งอาจรวมถึง :
-
- การขนถ่ายสินค้าขาเข้าและขาออก
- การจัดเก็บและเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ภายใน
- Order – Picking
- การจัดเรียงและหมุนเวียนสต็อคสินค้า
- การบรรจุ การโหลด และการจัดส่ง
- การจัดการการส่งคืน การบำรุงรักษา และการป้องกันการสูญเสีย
Logistics คืออะไร ?
โลจิสติกส์ (Logistics) คือกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและควบคุมการเคลื่อนย้ายสินค้า วัตถุดิบ และทรัพยากรต่าง ๆ จากจุดเริ่มต้นไปยังจุดหมายหรือจุดจัดจำหน่ายโดยมีเป้าหมายเพื่อให้สินค้าหรือบริการมาถึงในสถานะและตำแหน่งที่เหมาะสม รวมถึงการวางแผน การจัดระบบ การจัดเก็บ การขนส่ง การควบคุมคุณภาพ และการจัดส่งสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าในที่นี่คือส่วนสำคัญของระบบซึ่งทำให้สินค้าเคลื่อนที่จากจุดเริ่มต้นไปยังจุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามความต้องการของลูกค้า โลจิสติกส์มีบทบาทสำคัญในการจัดส่งสินค้าทั่วโลกและมีความสำคัญในธุรกิจและการพาณิชย์ต่าง ๆ เพื่อให้สินค้าหรือบริการมาถึงลูกค้าในเวลาที่ถูกต้องและคุณภาพที่ดี ซึ่งสามารถแบ่งเป็นหน้าที่หลักได้ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
-
- Inbound Logistics – เป็น logistics ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบไปยังโรงงานผลิต
-
- Outbound Logistics – เป็น logistics ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังจุดบริโภค ซึ่งอาจเรียกว่า Order Fulfillment
ความแตกต่างระหว่าง Logistic และ Warehouse
Logistic |
Warehouse |
เน้นการควบคุมและการจัดการ Flow ของสินค้าขาเข้าและขาออกจากคลังสินค้าเป็นหลัก | เน้นการจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้า หรือบริการเพื่อการผลิตหรือการขายเป็นหลัก |
การจัดการ Flow เพื่อตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า รวมถึงความคาดหวังขององค์กร | การจัดการกับวัสดุและทำให้แน่ใจว่าทุกอย่างดำเนินไปอย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ |
เกี่ยวข้องกับ Flow ทั้งหมด ตั้งแต่การรวมข้อมูล การจัดการวัสดุ สินค้าคงคลัง การขนส่ง ฯลฯ | การขนส่งที่เน้นในเรื่องความปลอดภัย ฯลฯ เกี่ยวข้องกับการติดตาม การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการสต็อคใหม่ การเลือก รับ และการจัดเก็บสต็อค |
เป็น Logistics ประเภท Recycling, Recovery, Production, Sales ฯลฯ | ประเภทคลังสินค้า ได้แก่ โกดังสาธารณะ โกดังควบคุมอุณหภูมิ คลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า ฯลฯ |
กระบวนการจัดการด้าน Logistics ที่ประกอบด้วยการ Organization การดำเนินการขนส่งและจัดเก็บสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง | ขั้นตอนการจัดการคลังสินค้า ได้แก่ การขนถ่าย การรับ การจัดเก็บ การตรวจสอบ และการกระจายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ |
วัตถุประสงค์หลักคือเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและปรับปรุงประสิทธิภาพ | วัตถุประสงค์หลักคือการรักษาต้นทุนการดำเนินงานให้ต่ำที่สุดและเพิ่มอัตราของกำไร |
ประโยชน์ในการใช้งานรวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพ และลดต้นทุน ให้บริการที่ดีขึ้นแก่ลูกค้า เพิ่มรายได้ ฯลฯ | ประโยชน์ของการเพิ่มการมองเห็นสินค้าคงคลัง มี Supply Chain ที่เหมาะสม ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ |
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Easetrack หรือติดต่อเราตอนนี้ เพื่อทำให้คลังสินค้าและการผลิตของคุณกลายเป็นระบบอัจฉริยะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและจัดการ ให้เป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น Eastrack ยินดีให้คำปรึกษา เพื่อให้ลูกค้าได้รับประโยชน์สูงสุดจากบริการของเราค่ะ
ข้อมูลจาก : geeksforgeeks.org