ทุกคนคงคุ้นเคยกับคลังสินค้า – ที่สะสมสินค้าเป็นจำนวนมากก่อนจะส่งให้ลูกค้า การจัดการคลังสินค้าไม่เพียงแค่เก็บเสื้อผ้าและรองเท้าอย่างเดียว แต่เรียกได้ว่าเป็นศูนย์รวมการจัดการสินค้าที่ซับซ้อน โดยการจัดเก็บ บริหาร และขนส่ง เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เพราะแต่ละชนิดของสินค้ามีลักษณะและวิธีการเก็บรักษาที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นก่อนที่เราจะพูดถึงประเภทของสินค้าคงคลัง เราต้องรู้จักกับความซับซ้อนของการบริหารจัดการในด้านนี้กันก่อนแล้วค่อยเข้าสู่รายละเอียดของแต่ละประเภท
สินค้าคงคลัง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
-
- วัตถุดิบและวัสดุใช้สอย (Raw material and supplies): เป็นสินค้าคงคลังที่รอนำเข้าผลิต ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพ เช่น อะไหล่คอมพิวเตอร์ ผลผลิตจากพืช
- งานระหว่างทำ (Work in process): เป็นสินค้าคงคลังที่อยู่ในระหว่างการผลิต หรือกำลังจะทำการเปลี่ยนแปลงสภาพ เช่น เสื้อที่มีการถักทอแล้ว แต่รอติดกระดุม หรืออาหารสำเร็จรูปที่มีการแปรรูปแล้ว แต่ยังไม่ได้บรรจุหีบห่อ
- สินค้าสำเร็จรูป (Finish good and product): เป็นสินค้าคงคลังที่ผลิตสำเร็จแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแล้ว และรอการจำหน่าย เช่น อาหารสำเร็จรูป เครื่องใช้ในครัวเรือน
สินค้าในคลังแต่ละประเภทมีความแตกต่างในเรื่องการเคลื่อนไหวและความคล่องตัว วัตถุดิบและวัสดุส่วนใหญ่มีความคล่องตัวมากที่สุด เนื่องจากสามารถปล่อยสินค้าได้ง่าย ในขณะที่สินค้าสำเร็จรูปมีความคล่องตัวน้อยกว่า เนื่องจากยังไม่สามารถนำไปใช้งานได้โดยทันที ดังนั้น การลดปริมาณสินค้าคงคลังประเภทนี้เป็นวัตถุประสงค์หลักขององค์กร
ความซับซ้อนของคลังสินค้าไม่ได้มีเพียงแค่นั้น
แต่ยังมีกระบวนการทำงานที่ละเอียดลงลึกไปอีก ไม่ว่าจะเป็นการรับสินค้า การจัดเก็บ การบริหารจัดการสินค้าภายในคลัง ไม่ให้เกิดความเสียหาย และปล่อยสินค้าออกจากคลังได้อย่างเป็นระบบ
คลังสินค้าทำให้เรามี “รายได้” มากขึ้น
ใช่แล้วครับ มีรายได้มากขึ้น อ่านไม่ผิดแน่นอน เพราะการจัดการคลังสินค้าอย่างเป็นระบบ จะทำให้เราสามารถคำนวณจำนวนสินค้าได้อย่างเหมาะสม ไม่มีสินค้าค้างสต๊อก เกิดข้อผิดพลาดในการหยิบสินค้าน้อยลง จัดส่งสินค้าได้อย่างถูกต้อง ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพียงเท่านี้ คุณก็จะไม่เสียรายได้ไปกับความผิดพลาดที่ไม่จำเป็น และยังส่งผลให้มีรายได้มากขึ้นอีกด้วย
รายได้ ที่มาจาก “ต้นทุนที่ลดลง”
ต้นทุนทางโลจิสติกส์นั้น มาจาก 3 ส่วนด้วยกัน คือ ต้นทุนการขนส่งสินค้า ต้นทุนการบริหารจัดการ และต้นทุนการรักษาสินค้าคงคลัง ที่ครอบคลุมทั้งต้นทุนการถือครองสินค้าและต้นทุนการบริหารคลังสินค้า
แนวทางในการบริหารคลังสินค้า เพื่อลดต้นทุนสินค้าคงคลังได้ ดังนี้
- ควบคุมต้นทุนการสั่งซื้อ
เราควรใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสร้างคำสั่งซื้อ (Purchase Order: PO) การใช้ระบบ Electronic Data Interchange: EDI ในการส่งผ่านข้อมูลคำสั่งซื้อ (PO) การใช้ระบบแจ้งการส่งสินค้าล่วงหน้า ก่อนสินค้าจะมาถึงคลัง (Advance Shipping Notices: ASNs) รวมไปถึงการใช้ระบบประเมินซัพพลายเออร์ และการบำรุงรักษาเครื่องมือในคลังสินค้า
- กำหนดปริมาณสินค้าคงเหลือที่เหมาะสม
การกำหนดปริมาณสินค้าคงเหลือ หรือี่เรียกว่า Safety Stock เพื่อให้มีสินค้าเพียงพอในการขนส่งให้กับลูกค้า สามารถเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าได้ ส่งผลให้มีรายได้จากลูกค้าที่พึงพอใจมากขึ้น และยังลดการเกิดสินค้าขาดแคลน เสียโอกาสในการขนส่งสินค้าตามคำสั่งซื้ออีกด้วย
- เคลื่อนย้ายสินค้าคงคลัง
เคลื่อนย้ายสินค้าจากคลังหนึ่ง ไปอีกคลังหนึ่ง (Transfer) เมื่อสินค้าบางรายการมีมากเกินไป เพื่อเกลี่ยปริมาณสินค้า ส่งผลดีต่อการบริหารสินค้าคงคลังได้เป็นอย่างดี
- การใช้พื้นที่คลังสินค้าให้คุ้มค่า
เราควรออกแบบพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าให้เหมาะสม อาจเริ่มจากการเรียงสินค้าให้พอดีกับพื้นที่ ไม่เปลืองพื้นที่ รวมไปถึงมีการนำสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว (Dead Stock) ออกไปจากคลังสินค้าก่อนครับ
- การติดตามสินค้าคงคลัง
สามารถใช้เทคโนโลยีในการระบุตำแหน่ง และติดตามสินค้าภายในคลัง ด้วยการใช้ WMS ควบคู่กับการสแกนบาร์โค้ดที่สินค้า และพาเลท และมีการแนะนำตำแหน่ง (Location) ในการจัดเก็บบน Rack จะช่วยลดเวลาในการจัดเก็บสินค้า และการหยิบสินค้าได้อย่างดีเยี่ยม
อย่างไรก็ตาม คลังสินค้าไม่สามารถทำงานด้วยตนเองได้ หากขาดระบบการบริหารจัดการที่ถูกต้อง และวิธีที่ดีที่สุด คือการใช้ WMS (Warehouse Management) ในการบริหารจัดการคลังสินค้า เพราะมีการจัดเก็บข้อมูล ประมวลผลแบบเรียลไทม์ และคำนวณได้อย่างแม่นยำในทุกฟังก์ชัน
ขอบคุณที่มา: mologtech