อัปเดตเทรนด์เทคโนโลยีปี 2024 ที่น่าสนใจบ้างอย่างไรบ้าง

 

ได้เวลาอัปเดตเทรนด์เทคโนโลยีปี 2024 มีอะไรมาช่วยขับเคลื่อนธุรกิจบ้าง

 

การเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีเพียงช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของผู้คน รวมไปถึงการดำเนินธุรกิจ ทำให้เกิดการแยกจากกันไม่ได้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และต้องยอมรับว่า เทคโนโลยีที่เติบโตขึ้นอย่างฉุดไม่อยู่นี้ ได้สร้างความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก และมอบโอกาสให้ทุกธุรกิจได้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าโดยที่ไม่ต้องใช้ต้นทุนสูง สร้างเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีความมั่นคงและทันสมัย

 

ซึ่งถ้าหากมองในมุมกลับกัน หากบุคคลหรือธุรกิจใดไม่สามารถอยู่ร่วมกับเทคโนโลยี หรือไม่มีการปรับตัวให้เท่าทันเทคโนโลยี ก็มีความเสี่ยงที่จะล้าหลังคู่แข่งหรือผู้คนในสังคมได้ ดังนั้นเพื่อพาทุกคนร่วมเดินทางไปสู่อนาคต เรามาอัปเดตเทรนด์เทคโนโลยีปี 2024 ด้วยกันว่า ธุรกิจต่าง ๆ จะมีเทคโนโลยีใดเป็นตัวช่วยกำหนดอนาคตได้บ้าง

 

โลกอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นจริง กับ 4 เทคโนโลยีแห่งปี 2024

 

หากย้อนกลับไปในอดีต การกล่าวถึงโลกอนาคตคงเป็นเพียงจินตนาการที่ทุกคนฝันถึง แต่สำหรับปัจจุบันนี้การกล่าวถึงอนาคต กลายเป็นเรื่องที่รอเพียงไม่กี่อึดใจ สิ่งที่จินตนาการเอาไว้ก็สามารถเกิดขึ้นจริงได้ ด้วยพลังของเทคโนโลยีที่ช่วยให้ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ระดับอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ไปจนถึงธุรกิจค้าปลีกต่าง ๆ ได้มีช่องทางในการเติบโต และสามารถแข่งขันในระดับสากลได้ และนี่คือ 4 เทคโนโลยีที่จะเข้ามาสร้างอนาคตใหม่ในปี 2024

 

 

1. หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัจฉริยะ

 

มีข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญของ Gartner ระบุว่า “ในปี 2570 นี้มีร้อยละ 75 ของบริษัทที่นำระบบอัตโนมัติที่เป็นหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัจฉริยะมาใช้ในการจัดการคลังสินค้า” คลังสินค้าเป็นส่วนสำคัญของโซ่อุปทานที่เกิดขึ้นจากการเติบโตของธุรกิจ E-Commerce และรวมไปถึงอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ได้ลงทุนในเทคโนโลยีการพัฒนาหุ่นยนต์อัตโนมัติ เพื่อใช้งานแทนแรงงานมนุษย์เพื่อความปลอดภัยระหว่างการทำงาน และช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

 

โดยรายงานของ Gartner ได้คาดการณ์ว่า อีก 3 ปีข้างหน้า หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัจฉริยะจะพัฒนาแซงหน้าโดรน และทุกอุตสาหกรรมจะเพิ่มปริมาณหุ่นยนต์ให้มากขึ้นกว่าเดิม ส่วนโดรนจะถูกนำไปใช้ในงานตรวจสอบสถานที่ หรือส่งสินค้าที่มีความสำคัญ อย่างยาและเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ในพื้นที่ห่างไกล

 

และความอัจฉริยะที่จะเกิดขึ้นในปี 2024 เป็นต้นไป หุ่นยนต์จะประหยัดพลังงานมากขึ้น ด้วยการติดตั้งเซนเซอร์เพื่อการใช้งานแบบประหยัดพลังงานอัจฉริยะ จะช่วยให้หุ่นยนต์สามารถควบคุมความร้อนระหว่างการทำงานได้ดี อีกทั้งยังมีความรวดเร็วและความแม่นยำสูง ช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่อุตสาหกรรมได้มากขึ้น และที่สำคัญคือ เมื่อหุ่นยนต์ใช้พลังงานน้อยลง ต้นทุนการผลิตก็จะต่ำลงไปด้วย จึงเป็นเทคโนโลยีที่มีความยั่งยืนด้วย

 

นอกจากนี้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยียังช่วยให้หุ่นยนต์สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบดิจิทัลอย่างระบบคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการช่วยวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ 5G ที่ช่วยสนับสนุนให้ระบบดิจิทัลมีความสมบูรณ์แบบ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาสายเคเบิลเหมือนในอดีต

 

 

2. ควอนตัม เทคโนโลยี

 

จากบทสัมภาษณ์ของ ดร.จิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ควอนตัม เทคโนโลยี ฟาวเดชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จบปริญญาเอกด้านควอนตัม คอมพิวติ้ง ได้กล่าวว่า “เทคโนโลยีควอนตัม จะเป็นอีกหนึ่งยุคที่ต่อจากยุคดิจิทัล” ซึ่งเราได้เปลี่ยนผ่านจากยุคแอนะล็อก มาสู่ยุคดิจิทัล และกำลังจะเข้าสู่ยุคควอนตัม ดังนั้นควอนตัมจึงเป็นคนละเทคโนโลยีกัน ซึ่งการคาดการณ์การมาถึงของยุคควอนตัม ได้มีการประมาณเอาไว้ว่าอีก 6-7 ปีข้างหน้า เราจะเปลี่ยนผ่านจากระบบดิจิทัล ไปสู่ระบบควอนตัม แบบเดียวกับยุค Y2K ที่กำลังนับถอยหลังไปสู่ยุค Y2Q

 

ในขณะเดียวกัน พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้กล่าวว่า การมาถึงของยุคควอนตัมนั้น การใช้พาสเวิร์ดเพื่อการเข้ารหัสต่าง ๆ จะไม่มีความปลอดภัยอีกต่อไป และด้วยระยะเวลา 6-7 ปีต่อจากนี้ ไม่ใช่ระยะเวลาที่ยาวนาน ดังนั้นหน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ต้องเร่งให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยของข้อมูล และแยกเก็บข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนให้ปลอดภัยจากการคุกคามทางไซเบอร์

 

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะความสามารถของเทคโนโลยีควอนตัม หากนำมาเปรียบเทียบกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จะมีระบบการประมวลผลที่รวดเร็วและแตกต่างกันมาก เช่น การประมวลผลของชุดข้อมูล 1 ชุด ที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใช้เวลาประมาณ 10 ปี แต่สำหรับควอนตัม คอมพิวเตอร์จะใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น เป็นต้น

 

และความรวดเร็วในการประมวลนี้เอง ที่ทำให้เทคโนโลยีควอนตัมสามารถพยากรณ์โรคล่วงหน้าได้ ตามบทความวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ระบุว่า เทคโนโลยีควอนตัมจะมีประโยชน์เป็นอย่างมากหากได้นำมาใช้ในวงการแพทย์ เพราะจะสามารถระบุอาการของโรคได้ เพียงแค่ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติและไปพบแพทย์เท่านั้น เทคโนโลยีควอนตัมจะสามารถประมวลผลและแจ้งได้ว่า อาการผิดปกตินั้น ๆ เป็นสาเหตุของโรคอะไร โดยที่ไม่ต้องรอดูอาการให้ผู้ป่วยต้องเข้าสู่ระยะร้ายแรงของโรคเลย

 

และถึงแม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีควอนตัมยังไม่สมบูรณ์แบบ 100% แต่บริษัทใหญ่ ๆ หลายรายก็เริ่มนำเทคโนโลยีนี้มาใช้กันบ้างแล้ว อย่างการใช้คำนวณเส้นทางสำหรับการขนส่งสินค้าเพื่อช่วยประหยัดเวลา และประหยัดพลังงาน หรือการใช้คำนวณเพื่อสร้างโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ที่สามารถคำนวณปริมาณไฟฟ้าตั้งแต่การผลิต การสำรองไฟฟ้า ไปจนถึงการจ่ายไฟฟ้าได้อย่างแม่นยำ

 

 

3. จาก IoT ต่อยอดสู่ IoB

 

อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง หรือ Internet of Things (IoT) คือเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อโลกเข้ากับมนุษย์ ดังนั้นฐานข้อมูล หรือ Data ที่มีขนาดใหญ่นี้ จะสามารถรวบรวมมาเพื่อสร้างสรรค์ให้องค์กรต่าง ๆ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับผู้บริโภคในอนาคตได้ เรียกง่าย ๆ ว่าเป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม หรือ Internet of Behavior (IoB) ที่ได้กลายเป็นเทคโนโลยีต่อยอดมาจาก IoT

 

โดยหลักการใช้งานของเทคโนโลยี IoB จะมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการกระตุ้นให้ผู้ใช้งานเกิดพฤติกรรมเชิงบวก เช่น เทคโนโลยีสำหรับการขนส่ง ที่ติดตั้งอุปกรณ์ IoB ไว้กับรถขนส่ง เพื่อการติดตามพิกัด รวมไปถึงบันทึกพฤติกรรมของพนักงาน ว่า มีพฤติกรรมในการขับขี่เป็นอย่างไร อีกทั้งเทคโนโลยีนี้ยังสามารถตรวจสอบการทำงานของเครื่องยนต์ได้ด้วย ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ทรัพยากรที่มีได้อย่างคุ้มค่า ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และที่สำคัญคือสามารถควบคุมการใช้พลังานได้อย่างเหมาะสม

 

นอกจากนี้ IoB ยังสามารถเข้าใจ และแสดงผลถึงพฤติกรรมของแต่ละบุคคลได้อย่างแม่นยำ จึงไม่น่าแปลกใจที่ในปี 2024 นี้ เราจะได้เห็นเทคโนโลยีนี้เติบโตขึ้นอีกขั้น ไม่ว่าจะเป็นการนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจประกันภัย เพื่อการวิเคราะห์ความเสี่ยงของพฤติกรรม ก่อนที่จะคำนวณเป็นค่าเบี้ยประกันที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล หรือการช่วยวิเคราะห์ทางแพทย์ อย่างการติดตามพฤติกรรมการนอนหลับของผู้ป่วย ติดตามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และติดตามพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อนำสู่การวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการรักษาต่อไป เป็นต้น

 

 

3. เมืองอัจฉริยะที่มีความยั่งยืน

 

เมืองอัจฉริยะ (Smart City) คือ เมืองที่สร้างสรรค์ขึ้นจากการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีความชาญฉลาด เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความยั่งยืน เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเมือง และสร้างความสุขในการใช้ชีวิตให้แก่ประชาชน เช่น เมืองพลังงานอัจฉริยะ ที่เน้นความสมดุลของการใช้พลังงานโดยที่พึ่งพาพลังงานไฟฟ้าหลักให้น้อยที่สุด เมืองเศรษฐกิจอัจฉริยะ ที่ใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศรษฐกิจ และเมืองการเดินทางอัจฉริยะ ที่พัฒนาระบบการจราจรและการขนส่งอัจฉริยะที่คำนึงถึงความปลอดภัยและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

 

โดยเทคโนโลยีสำคัญที่จะช่วยสร้างสรรค์ให้เมืองอัจฉริยะเกิดขึ้นได้จริงในปี 2024 จำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีการสื่อสาร 5G ที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ และมีประสิทธิภาพ เพราะการบริหารจัดการเมืองให้สามารถตอบโจทย์ความอัจฉริยะจะต้องพึ่งพานวัตกรรมและเทคโนโลยีอันทันสมัย หากขาดซึ่งสัญญาณของเครือข่ายที่มีศักยภาพ โอกาสที่เมืองอัจฉริยะจะเกิดขึ้น ก็อาจจะพบกับความล้มเหลวได้

 

เทคโนโลยีแห่งอนาคตที่จะสามารถขับเคลื่อนธุรกิจ และยกระดับการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคม ยังมีอีกหลายชนิดที่กำลังจะเปิดตัวออกมาสู่สายตาของทุกคน และการใช้ข้อมูลจำนวนมหาศาลสำหรับการกำหนดเส้นทางธุรกิจนี้ จำเป็นจะต้องใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร 5G ที่มีความเร็วสูงกว่าเครือข่ายอื่น อีกทั้งยังมีเวลาแฝงต่ำ เพื่อทำให้การเชื่อมต่อไร้สาย 5G มีความยืดหยุ่น สามารถต่อเข้ากับเซนเซอร์ซึ่งจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่ร้อนแรงในอนาคตได้ทุกชนิด

 

โดยสรุปแล้วโลกของเราเปลี่ยนแปลงเร็วและเทรนใหม่ๆมักจะมาแบบไม่ทันตั้งตัว ทั้งนี้ทั้งนั้น Easetrack พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลเสมอและพร้อมปรับเปลี่ยนการทำงานไปตามยุคสมัย และยังมีโซลูชัน เพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจของท่าน ให้สามารถก้าวข้ามทุกความท้าทาย ติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษา เราพร้อมสนับสนุนธุรกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมต่อการสู่การแข่งขันในตลาดโลก

 

ขอบคุณที่มา: AIS

 

Share to everyone